ไม่ได้คิดไปเอง! การกักตัวอยู่บ้านอาจทำให้อยากกินของหวานมากขึ้น

วันที่ 12 พฤษภาคม 2563  3,194 Views

ช่วงกักตัวอยู่บ้านหลายคนคงรู้สึกว่าเลื่อนฟีดไปไหนก็เจอแต่ของหวานหลากหลายมาเข้าตา ไม่ว่าจะจากเพจที่ติดตาม เพื่อนแชร์มา หรือโฆษณายิง จนอดใจเผลอสั่งไม่ได้ทุกทียิ่งเห็นก็ยิ่งสั่ง ยิ่งสั่งก็ยิ่งเห็น ยิ่งทำให้เราหยุดหาเมนูของหวานใหม่ๆ มาลิ้มรสไปเรื่อยๆ ไม่ได้เลย

อาจไม่ใช่คุณคนเดียวที่อยู่ๆ ก็เกิดอาการอยากกินของหวาน (Sugar Craving) ขึ้นมาซะอย่างนั้น จากการสำรวจยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ gourmetandcuisine.com ก็พบข้อมูลที่สอดคล้องกัน คือมีผู้เข้าชมบทความแนะนำร้านขนมและของหวานต่างๆ เพิ่มขึ้นกว่า 500% เลยทีเดียว รวมทั้งบทความอื่นๆ ที่มีคำที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น "เค้ก" "มูส" "ขนมหวาน" "เค้กทุเรียน" ฯลฯ ต่างก็มียอดผู้เข้าอ่านเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับการกักตัวอยู่บ้านหรือไม่?

ไม่ได้คิดไปเอง!การกักตัวอยู่บ้านอาจทำให้อยากกินของหวานมากขึ้น

เรื่องนี้มีคำอธิบายที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วย ความอยากของหวานของคนเราเป็นผลจากการสั่งการของสมอง ในช่วงเวลาที่ต้องกักตัวอยู่กับบ้านเพราะสถานการณ์โควิด-19 อาจทำให้หลายคนวิตกกังวล อึดอัดเพราะไม่ได้ไปในที่ที่อยากไป หรือทำในสิ่งที่อยากทำ บ้างก็ได้รับผลกระทบเรื่องงานหรือเรื่องจิตใจ ส่งผลให้เกิด“ความเครียด”ความเครียดนี้เองเป็นตัวการให้ “สมอง” รู้สึกอ่อนล้าขาดพลังงาน

แล้วพลังงานของสมองคืออะไร? คำตอบก็คือ “กลูโคส” ที่มีอยู่มากในของหวานและอาหารจำพวกแป้งนั่นเอง ที่จริงเราจะกินอาหารอย่างอื่นเพื่อเติมพลังงานให้สมองก็ได้ แต่กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานที่สมองนำไปใช้ได้ง่ายและเร็วที่สุด และในเวลาแบบนี้หากฝืนไม่กินจะส่งผลเสียมากกว่า เพราะร่างกายต้องไปดึงกลูโคสที่สะสมไว้ใช้กับการทำงานของเซลล์อื่นมาทดแทน ผลคือสมองจะปล่อยฮอร์โมนความเครียดออกมาอีก โดยรวมแล้วไม่ได้ทำให้รู้สึกดีขึ้นเลย

ไม่ได้คิดไปเอง!การกักตัวอยู่บ้านอาจทำให้อยากกินของหวานมากขึ้น

การกินของหวานในเวลาที่เรารู้สึกเครียด จึงเป็นการตอบโจทย์ที่ถูกต้องและว่องไวทันใจสมอง การกินของหวานเพื่อให้รู้สึกดีไม่ใช่เรื่องที่ผิด สมองของมนุษย์ถูกโปรแกรมมาให้ชอบรสหวานอยู่แล้วเพื่อความอยู่รอด แม้แต่เด็กทารกที่ไม่รู้จักรสชาติต่างๆ ก็ยังชอบรสหวาน เพียงแต่การกินของหวานต้องมาพร้อมกับความพอดี เพราะหากได้รับกลูโคสมากเกินกว่าที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้หมดก็จะถูกนำไปสะสมในรูปแบบของไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ที่ร้ายไปกว่านั้นคืออาจทำให้เกิดโรคอย่างเบาหวานหรือไขมันในเส้นเลือดตามมา

อีกอย่างที่ต้องระวังคือการกินของหวานอาจ “กลายเป็นนิสัย” ได้ อย่างที่บางคนมีนิสัยต้องกินของหวานทุกครั้งหลังมื้ออาหาร หรือบางคนต้องกินของหวานในเวลาเดิมทุกวัน ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความเครียดหรือเหนื่อยล้า

พฤติกรรมไม่ดีอื่นๆ ที่เราทำในช่วงนี้ก็อาจส่งผลต่อความอยากของหวานได้ เช่น เมื่อไม่ต้องตื่นเช้าไปทำงานเราอาจดูซีรรีส์หรือเล่นเกมจนดึก การนอนหลับไม่เพียงพอก็ส่งผลต่อฮอร์โมนทำให้เราอยากอาหารที่ให้พลังงานสูงๆ อย่างของหวานและจังก์ฟู้ดด้วย

ไม่ได้คิดไปเอง!การกักตัวอยู่บ้านอาจทำให้อยากกินของหวานมากขึ้น

ดังนั้น ลองสังเกตตัวเองว่าการกักตัวอยู่บ้านเป็นสาเหตุให้คุณเกิดความเครียดจนต้องมาลงที่ขนมหวานหรือไม่ หากดูเหมือนว่าจะใช่ เราก็มีวิธีที่อาจช่วยให้คุณอยากกินของหวานน้อยลงมาฝาก

1. กินอาหารให้ครบหมู่และเพียงพอ ทุกมื้อต้องมีโปรตีนไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ อย่างเพียงพอ นั่นเพราะโปรตีนและไขมันจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดอย่างช้าๆ อย่าให้มีมื้อไหนที่เน้นหนักไปที่คาร์โบไฮเดรตเพียงอย่างเดียว และไม่ควรอดอาหาร! เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดทั้งวัน ซึ่งจะทำให้อาการอยากของหวานลดลง

2. เลือกของว่างที่มีประโยชน์ติดบ้านไว้เพราะนิสัยติดของหวานหรือของว่างไม่ได้แก้กันง่ายๆ หากรู้สึกโหวงๆ ว่าต้องกินอะไรสักอย่าง อาจหาของว่างที่มีน้ำตาลน้อยและมีประโยชน์อื่นๆ เป็นทางเลือก เช่น ผลไม้ที่มีเส้นใยอาหาร พวกเบอร์รี่ต่างๆ ที่น้ำตาลน้อยแต่อร่อยกรีกโยเกิร์ตที่อุดมไปด้วยโปรตีน หรือดาร์กช็อกโกแลตที่มีเส้นใยอาหารสูง

ไม่ได้คิดไปเอง!การกักตัวอยู่บ้านอาจทำให้อยากกินของหวานมากขึ้น

3. ออกกำลังกายเป็นประจำหลายคนเผลอขยับเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อต้องอยู่แต่ในบ้าน แต่อย่าลืมว่าการออกกำลังกายจะทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน สารแห่งความสุขออกมาต่อสู้กับความเครียด และยังช่วยให้เรานอนหลับดีขึ้น ซึ่งก็ช่วยลดความเครียดได้อีกต่อหนึ่งด้วย (การนั่งสมาธิก็ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟินได้เช่นกัน) นอกจากนี้การเดินประมาณ 10-15 นาทีหลังจากที่เรากินของหวานเข้าไป (หรือหลังมื้ออาหาร) ยังช่วยกระตุ้นการเผาผลาญการย่อยอาหาร และทำให้ร่างกายดึงน้ำตาลไปใช้ก่อนที่จะไปสะสมในรูปแบบของไขมัน ซึ่งมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือดด้วย

ไม่ได้คิดไปเอง!การกักตัวอยู่บ้านอาจทำให้อยากกินของหวานมากขึ้น

และสุดท้าย 4. นอนหลับให้เพียงพอ มีผลการวิจัยว่าคนที่นอนหลับอย่างเพียงพอจะมีความอยากของหวานน้อยกว่าคนที่นอนหลับไม่เพียงพอ และพบความเชื่อมโยงระหว่างการนอนไม่พอกับการเลือกกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย นอกจากนี้การที่เข้านอนทั้งๆ ที่อิ่มหรือหิวเกินไปก็ส่งผลให้การนอนขาดคุณภาพทั้งนั้น จึงควรกินแต่พอดีในมื้อเย็นเพื่อให้นอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เราสามารถเลือกกินอาหารที่ดีขึ้นได้ในวันต่อมา

ไม่ได้คิดไปเอง!การกักตัวอยู่บ้านอาจทำให้อยากกินของหวานมากขึ้น

ที่มา :


Tag: , ของหวาน, โควิด-19,

เรื่องโดย

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed