อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

วันที่ 4 มิถุนายน 2563  2,093 Views
นิตยสาร Gourmet & Cuisine ฉบับที่ 239 เดือนมิถุนายน 2563

มะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งส่งผลให้เซลล์มีขนาด มีการเจริญเติบโต และมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็วและมากจนผิดปกติ และร่างกายควบคุมไม่ได้ เซลล์เหล่านี้จึงเจริญลุกลามพร้อมกับแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ที่ปกติของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ เหล่านี้ได้รับผลกระทบ กลายเป็นเซลล์ผิดปกติ ไม่สามารถทำงานได้ตามหน้าที่ปกติ จนเป็นสาเหตุในการสูญเสียการทำงานและส่งผลให้เสียชีวิตได้

อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

รายงานของ World Cancer Research Fund International ปี 2015 อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง ได้แก่ 

  1. น้ำหนักตัวเกินและอ้วน (Overweight and Obesity) เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งเต้านม มะเร็งท่อน้ำดีและถุงน้ำดี มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
  2. เนื้อสัตว์แปรรูป (Processed Meat) เช่น เบคอน แฮม ไส้กรอก  เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งกระเพาะอาหาร
  3. เนื้อแดงปริมาณสูง (Red Meat) เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  4. อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง (High Glycemic Load) เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งมดลูก (Endometrium)
  5. อาหารที่มีสารพิษจากเชื้อราชื่อว่า “อะฟลาท็อกซิน” (Aflatoxin) เช่น ถั่วและธัญพืชเมล็ดแห้ง พริกแห้ง ผลไม้แห้ง พริกไทยป่น เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งตับ
  6.  อาหารที่มีการถนอมอาหารด้วยเกลือ (Food Preserved by Salting) เช่น ผักดอง เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร
  7. แอลกอฮอล์ (Alcohol) เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหาร
  8. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทเบตา-แคโรทีน (Beta-carotene Supplements) เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอด

ความต้องการของผู้ที่เป็นมะเร็ง

อาหารหมู่ที่ 1 : ข้าว แป้ง น้ำตาล
สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต

อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

เน้นคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการทำให้สุก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของคนที่เป็นมะเร็งค่อนข้างจะต่ำ ดังนั้นอาหารควรผ่านความร้อนและปรุงสุกใหม่ รับประทานทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานหรือวางทิ้งไว้ พยายามเลือกธัญพืชหรือธัญชาติที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีที่น้อยเพื่อให้ได้สารอาหารและสารพฤกษเคมีที่มากกว่า พยายามปรุงประกอบอาหารให้ได้ข้าว แป้ง ที่อ่อนนุ่ม เพื่อให้ย่อยและดูดซึมง่าย ปริมาณ 8-12 ทัพพีต่อวัน

อาหารหมู่ที่ 2 : เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง
สารอาหาร โปรตีน

อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

มีความสำคัญมาก เนื่องจากในคนที่เป็นมะเร็งมีอัตราการสลายโปรตีนของร่างกายเพิ่มขึ้นกว่าคนปกติ จึงจำเป็นต้องได้รับโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายให้ได้เพียงพอ โปรตีนยังทำหน้าที่ช่วยรักษาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีระบบที่ดี หากร่างกายไม่ได้รับโปรตีนเพียงพอจะยิ่งเร่งการสลายโปรตีนของกล้ามเนื้อออกมา แหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็น เช่น เนื้อปลา เนื้ออกไก่ ไข่ นม ถั่วซีก (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วขาว ถั่วดำ) ถั่วเปลือกแข็ง หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุกหรือให้ความร้อนที่ไม่พอเหมาะ ปริมาณ 1-1.5 กรัม/กิโลกรัมต่อวัน หรือวันละ 8-15 ช้อนกินข้าว

อาหารหมู่ที่ 3 : ไขมันและน้ำมัน
สารอาหาร ไขมัน

อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

เนื่องจากร่างกายมีความต้องการพลังงานสูงขึ้น ร่วมกับการอักเสบของร่างกายเพิ่มขึ้น อาหารกลุ่มไขมันมีความสำคัญทั้งเรื่องการให้พลังงาน ช่วยดูดซึมวิตามิน และไขมันที่มีกรดโอเมกา-3 ช่วยลดการอักเสบ ขณะเดียวกันไขมันบางประเภทอาจยิ่งเร่งให้เกิดการอักเสบได้ ดังนั้นจึงควรเลือกไขมันให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม เลือกไขมันและน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวเป็นหลัก เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์ ถั่วเปลือกแข็ง หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ ปริมาณ 20-35 % ของพลังงาน

อาหารหมู่ที่ 4 : ผัก
สารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ

อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

ผักและผลไม้รวมกันควรให้ได้ 400 กรัมต่อวัน เลือกผักหลากหลายสีสัน และหากเลือกผักออร์แกนิกได้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง พยายามเลือกผักที่ผ่านการปรุงสุก เช่น นึ่ง ต้ม อบ เพราะจะย่อยง่ายกว่าและหลีกเลี่ยงเชื้อต่างๆ ที่อาจติดมากับผักที่ไม่สะอาดได้ เลือกผักที่มีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรในเมนูอาหาร เช่น กระเทียม หัวหอม ใบกะเพรา ใบแมงลัก ใบโหระพา ผักตระกูลกะหล่ำซึ่งมีสารอาหารสำคัญในการต้านการอักเสบ ผักตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี และคะน้า ผักกลุ่มแครอต มะเขือเทศ มีเบตา-แคโรทีนและไลโคปีนช่วยลดเซลล์มะเร็ง ปริมาณ ผัก 3-5 ฝ่ามือต่อวัน

อาหารหมู่ที่ 5 : ผลไม้
สารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ

อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

เลือกผลไม้หลากหลายสี เพราะแต่ละสีให้คุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพต่างกัน เช่น สีม่วง สีเขียว สีขาว สีส้ม สีแดง ล้างผลไม้ให้สะอาดเพื่อลดยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีที่อาจตกค้าง หรือพวกเชื้อราต่างๆ ที่อาจติดมาได้ ควรปอกเปลือกเพื่อช่วยลดสารเคมีต่างๆ ผลไม้ที่มีสีม่วงแดงมีรงควัตถุชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดเซลล์มะเร็ง เช่น พืชตระกูลเชอร์รี เบอร์รีต่างๆ องุ่น ผักผลไม้สีส้มมีสารเบตา-แคโรทีน ลูทีน และซีแซนทีน สารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ส้ม ฟักข้าว ปริมาณวันละ 2-3 ส่วน โดย 1 ส่วนประมาณ 1 ฝ่ามือ

ตารางพลังงานและสารอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตามคำแนะนำของ ESPEN ปี 2014 และ World Cancer Research Fund International ปี 2015

อาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง

ตารางแสดงผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์จากการทำบำบัดรักษามะเร็ง

ตารางแสดงผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์จากการทำบำบัดรักษามะเร็ง


Tag: , Food for life, โรคมะเร็ง,

เรื่องโดย

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed