อาหารโปรไบโอติก (Probiotic) เทรนด์สุขภาพที่มาแรงกับบทบาทในการจัดการความเครียด

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566  2,193 Views
นิตยสาร Gourmet & Cuisine ฉบับที่ 271 เดือนกุมภาพันธ์ 2566

โปรไบโอติก (Probiotic) เป็นคำเรียกในภาพรวมของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด การกล่าวถึงโปรไบโอติกจึงต้องให้ความสำคัญกับสกุล สปีชีส์ และสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ

อาหารโปรไบโอติก (Probiotic) เทรนด์สุขภาพที่มาแรงกับบทบาทในการจัดการความเครียด

การที่จุลินทรีย์มีสกุลและสปีชีส์เหมือนกันแต่ต่างกันที่สายพันธุ์อาจส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ที่แตกต่างกันได้ ในทางตรงกันข้ามจุลินทรีย์ที่มีสายพันธุ์ต่างกันก็อาจให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน องค์ประกอบทั้ง 3 สิ่งนี้ (สกุล สปีชีส์ และสายพันธุ์) ช่วยให้สามารถระบุชนิดของจุลินทรีย์ได้อย่างเฉพาะเจาะจง เมื่อกล่าวถึงโปรไบโอติกกับประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่างๆ หรือความปลอดภัยในการบริโภคจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและมีความแม่นยำมากขึ้น

การได้รับจุลินทรีย์ที่มีชีวิตในปริมาณที่เพียงพอ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพจากความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ จุลินทรีย์โปรไบโอติกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของ Lactobacillus และ Bifidobacterium นอกจากนี้ยังมี Lactococcus, Streptococcus, Enterococcus, Propionibacterium, และยีสต์ Saccharomyces ที่เป็นที่รู้จัก มีอยู่แพร่หลาย และมีความสำคัญเช่นกัน

โปรไบโอติกถูกนำมาใช้ผลิตอาหารฟังก์ชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนมและผลิตภัณฑ์นม เช่น นม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ชีส ครีม และไอศกรีม รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่นม เช่น เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ขนมปังและอาหารว่างที่มีกากใยจากธัญพืช และน้ำผลไม้และผลิตภัณฑ์ผลไม้อื่นๆ

การบริโภคอาหารที่มีโปรไบโอติกที่มีชีวิตจำนวน 108-109 CFU ต่อวัน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เห็นผลลัพธ์ต่อสุขภาพที่ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ ชนิดของจุลินทรีย์และสรีรวิทยาของโฮสต์หรือผู้บริโภค

โปรไบโอติกช่วยส่งเสริมสุขภาพผ่านกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย โดยสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคโดยการเปลี่ยนแปลงค่า pH หรือผลิตแบคเทอริโอซิน (Bacteriocins) การสังเคราะห์สารอาหารรอง (Micronutrients) ที่จำเป็น เช่น วิตามิน กรดอะมิโน และเอนไซม์ รวมถึงช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้น กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ในทางตรงกันข้ามปัจจัยทางด้านจิตวิทยา เช่น ความเครียด สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเสถียร ความหลากหลาย ตลอดจนสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้

ไซโคไบโอติกส์ (Psychobiotics) คือโปรไบโอติกที่มีประโยชน์จำเพาะต่ออาการทางจิตเวช เนื่องจากส่งผลดีต่ออารมณ์ การรับรู้ และกระบวนการทางจิตวิทยาอื่นๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงการใช้โปรไบโอติกเพื่อควบคุมอาการทางจิตเวช การศึกษาเหล่านั้นศึกษาในอาสาสมัครที่อยู่ภายใต้สภาวะความเครียดพบว่า โปรไบโอติกมีบทบาทในการควบคุมการสังเคราะห์และการหลั่งสารสื่อประสาทที่หลากหลาย และปัจจัยที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ รวมถึงคอร์ติซอล คอร์ติโคโทรปิน-รีลีสซิง แฟคเตอร์ (Corticotropin-Releasing Factor; CRF) สารต่อต้านมะเร็ง (Tumor Necrosis Factor-α (TNF-α) และช่วยฟื้นฟูอาการทางร่างกายและอาการทางจิตเวชที่เป็นผลมาจากความเครียดของอาสาสมัครให้ดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง

  • และคณะ (2020) ได้รวบรวมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผลของโปรไบโอติกต่อความเครียดในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีทั้ง 7 การศึกษา ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ 4-24 สัปดาห์ พบว่าโปรไบโอติกสามารถลดระดับความเครียดของอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีได้ และอาจช่วยฟื้นฟูระดับความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับคอร์ติซอล

นอกเหนือไปจากวิธีการจัดการกับความเครียดที่ได้รับความนิยมทั่วๆ ไป เช่น ออกกำลังกาย เดินผ่อนคลาย ฟังเพลง ดูภาพยนตร์ หรือนั่งสมาธิแล้ว การบริโภคอาหารที่มีโปรไบโอติกอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดความเครียดในผู้ที่อยู่ภายใต้สภาวะความเครียดได้

เอกสารอ้างอิง

  • Hill C, Guarner F, Reid G, Gibson GR, Merenstein DJ, Pot B, et al. Expert consensus document. The International Scientific Association for Probiotics and Prebiotics consensus statement on the scope and appropriate use of the term probiotic. Nat Rev Gastroenterol Hepatol. 2014;11(8):506-14.
  • Gibson GR, Roberfroid MB. Dietary modulation of the human colonic microbiota: introducing the concept of prebiotics. J Nutr. 1995;125(6):1401-12.
  • Azad MAK, Sarker M, Li T, Yin J. Probiotic species in the modulation of gut microbiota: an overview. BioMed Res Int. 2018;2018:9478630.
  • Terpou A, Papadaki A, Lappa IK, Kachrimanidou V, Bosnea LA, Kopsahelis N. Probiotics in food systems: significance and emerging strategies towards improved viability and delivery of enhanced beneficial value. Nutrients. 2019;11(7):1591.
  • Marin IA, Goertz JE, Ren T, Rich SS, Onengut-Gumuscu S, Farber E, et al. Microbiota alteration is associated with the development of stress-induced despair behavior. Scientific Reports. 2017;7(1):43859.
  • Dinan TG, Cryan JF. Mood by microbe: towards clinical translation. Genome Medicine. 2016;8(1):36-8.
  • Zhang N, Zhang Y, Li M, Wang W, Liu Z, Xi C, et al. Efficacy of probiotics on stress in healthy volunteers: a systematic review and meta-analysis based on randomized controlled trials. Brain Behav. 2020;10(9):e01699.

Tag: Food for life, อาหารต้านความเครียด, อาหารมีประโยชน์

เรื่องโดย

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed